สระบุรี


จังหวัดสระบุรี
ตราประจำจังหวัดสระบุรี

        


ความหมายของสัญลักษณ์ตราประจำจังหวัดสระบุรี
รูปมณฑป   หมายถึง สถานที่อันเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดของชาวจังหวัดสระบุรีและชาวไทยทั้งประเทศ เป็นรูปมณฑปปลูกครอบรอยพระพุทธบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ตั้งอยู่ที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
ดอกไม้ประจำจังหวัด

ดอกสุพรรณิการ์   ชื่อวิทยาศาสตร์ Cochlospermum regium(Mart.&Schrank)

ต้นไม้ประจำจังหวัดสระบุรี

 ต้นตะแบกนา          ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia floribunda

คำขวัญของจังหวัดสระบุรี
"พระพุทธบาทสูงค่า เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ฐานผลิตอุตสาหกรรม เกษตรนำล้ำแหล่งเที่ยว    หนึ่งเดียวกะหรี่ปั๊บนมดี ประเพณีตักบาตรดอกไม้งาม เหลืองอร่ามทุ่งทานตะวัน ลือลั่นเมืองชุมทาง"
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดสระบุรีมีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ     ติดต่อกับ    จังหวัดลพบุรี
ทิศใต้       ติดต่อกับ    จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ   จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดนครนายก
ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ    จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดลพบุรี
เว็บไซต์ของจังหวัดสระบุรี     
 สถานที่ติดต่อเว็บไซต์
 กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดสระบุรี
 โทร 036-220439,12929      E-mail : saraburi@moi.go.th
 ชนกลุ่มน้อยของจังหวัดสสระบุรี      เผ่าม้ง
 สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดบุรี 
1.  โบราณสถาน วัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์)


             สถานที่แห่งนี้ เป็นศาสนสถานมาเป็นเวลายาวนาน สืบความไปถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จจากวังนารายณ์ ไปว่าราชการ ณ กรุงศรีอยุธยา ทรงผ่านประทับแรม ณ ถ้ำนารายณ์ และสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมซึ่งเสด็จนมัสการรอยพระพุทธบาท ก็ได้เสด็จประทับพักแรมในถ้ำนารายณ์ เมื่อกว่า ๑,๒๐๐ ปีมาแล้ว
 2.  วัดพะเยาว์ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี


              เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญยิ่งอีกองค์หนึ่งของชาติไทย  ไม่อาจสร้างขึ้นมาได้โดยง่าย ในสมัยแต่ก่อนมานั้น จะมีก็แต่พระมหากษัตริย์ที่ทรงพระบุญญาบารมีเท่านั้นที่สามารถสร้างได้
 3.  พระโบราณศิลปอยุธยา


               หลวงพ่อใหญ่ พระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองปางมารวิชัย พุทธอยุธยาตอนปลาย ค้นพบภายในถ้ำพระใหญ่ ภายในถ้ำเมื่อพบครั้งแรก เป็นที่สำหรับเก็บถ้วยชาม ของโบราณ และพระพุทธรูปโบราณองค์เล็กอีกมาก
4.  เสาร้องไห้ ศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองสระบุรี


               ในการสร้างพระบรมมหาราชวังและเสาหลักเมือง   มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ได้มีพระบรมราชโองการไปยังเหนือหัวเมืองต่างๆ   ให้ตัดไม้ที่มีลักษณะดีส่งไปยังกรุงเทพฯ เพื่อคัดเลือกเป็นเสาหลักเมือง เมืองสระบุรี  ได้ตัดไม้ตะเคียนส่งไปยังกรุงเทพฯ แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก  เสา  ( วิญญาณแม่ตะเคียนประจำเสา) เสียใจมากจึงลอยทวนกระแสน้ำมาตามลำน้ำป่าสัก       หยุดลอยกลางลำน้ำเยื้องที่ว่าการอำเภอเสาไห้ทุกวันนี้ นางไม้ประจำเสาต้นนี้ได้ส่งเสียงร้องไห้คร่ำครวญให้ชาวบ้านได้ยินเสมอ แล้วจมลงใต้น้ำ ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านไผ่ล้อมน้อยว่าบ้านเสาไห้มาจนทุกวันนี้
 5. วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี


               คาดว่าค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม บันไดทางขึ้นสรางในสมัยรัชกาลที่ 1 ลักษณะเป็นนาคสามสาย ทอดชนานกับหัวบันไดเป็นรูปเศียรพญานาคหน้าเศียรนามว่ามุจลินทร์ โดยสายที่ 1 จากด้านซ้ายถือเป็นบันไดเงิน สายที่ 2 เป็นบันไดแก้ว และสายที่ 3 เป็นบันไดทอง เชื่อกันว่าหากปรารถนาเงินให้ขึ้นบันไดเงิน ปรารถนาทองให้ขึ้นบันไดทอง และปรารถนายศฐาบรรดาศักดิ์ หรืออื่นๆ (ส่วนใหญ่จะปรารถนาด้านคู่ครอง) ให้ขึ้นบันไดแก้ว โดยให้กลั้นหายใจพร้อมกล่าวคำอธิษฐานจนถึงบันไดขึ้นบนสุด
6.  เงาพระพุทธเจ้าบนผาหิน พุทธศิลปอายุกว่า 1,000 ปี


               รอยพระฉายบนผาหิน หรือเงาพระพุทธเจ้า ที่ปรากฎมีเรื่องราวเป็นตำนานให้ชาวพุทธได้มาสักการะ นอกจากจะได้ชมความศักดิ์สิทธิ์และได้มีโอกาสมากราบไหว้ เพื่อเป็นสิริมงคลกับตัวเอง บริเวณด้านบนเหนือผาหินมีทางเดินขึ้นเขา เพื่อไปสักการะรอยพระพุทธบาทเบื้องขวา เรียกได้ว่า มาจังหวัดสระบุรีรอบเดียว จะได้มีโอกาสสักการะรอยพระพุทธบาทถึง 2 รอยด้วยกัน นั่นคือ รอยแรก คือรอยพระพุทธบาทเบื้องขวาณวัดพระพุทธฉายแห่งนี้
7.  วัดสมุหประดิษฐาราม อ.เสาไห้ จ.สระบุรี


              ในรัชสมัยรัชกาลที่ 4   สมุหนายก ผู้ตามเสด็จฯ ได้เดินขึ้นฝั่ง เที่ยวสถานที่ต่างๆ ได้พบวัดไผ่จ้อก้อจึงกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะบูรณะและสร้างวัดไผ่จ้อก้อขึ้นใหม่ เมื่อได้รับ พระบรมราชานุญาตแล้ว จึงย้ายวัดไผ่จ้อก้อมาสร้าง ณ ที่  "วัดสมุหประดิษฐาราม"  ตามนามตำแหน่งของ เจ้าพระยานิกรบดินทร์และสถาปนาเป็นพระอารามหลวง
8.  วัดถ้ำพระโพธิสัตว์ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี       


              ถ้ำพระโพธิสัตว์เป็นถ้ำหินอ่อนล้วน มีภาพศิลปะนูนต่ำ ดังที่กล่าวมาและมีหินงอก หินย้อย รูป ช้าง สิงโต เต่า หัวจระเข้ ลิ้นพญามัจจุราช พระปางนั่งสมาธิบนเพดานถ้ำ เพชรน้ำ (น้ำหยดลงหินเป็นประกายลักษณะคล้ายหินปะการัง) ถัดจากถ้ำพระโพธิสัตว์ คือถ้ำธรรมทัศน์ มีความยาวประมาณ 800 เมตรเศษ เป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์ในอดีต   ภายในมีหินงอกหินย้อยรูปหัวพญานาค สันนิษฐานว่าเป็นเสาหลักเมืองเก่า

บรรณานุกรม
จังหวัดสระบุรี.   (2554).  ค้นคืนเมื่อ  กรกฎาคม   30, 2554, จาก
               http://www.saraburi.go.th/         
ตราประจำจังหวัด.   (2554).  ค้นคืนเมื่อ  กรกฎาคม   30, 2554, จาก
                http//ridceo.rid.go.th
ที่ตั้งและอาณาเขต.  (2554).  ค้นคืนเมื่อ  กรกฎาคม   30, 2554, จาก
                http://www.tourthai.com/
สถานที่ท่องเที่ยว.   (2554).  ค้นคืนเมื่อ  กรกฎาคม   30, 2554, จาก
                http//www.siamfreestyle.com