ตราจังหวัดอุทัยธานี
รูปพลับพลาจัตุรมุข หน้าบรรณศาลาตราจักรี
ตั้งอยู่บนยอดเขาแก้ว
ความหมายของตราประจำจังหวัดอุทัยธานี
พลับพลาจตุรมุข หน้าบรรณศาลาตราจักรี เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระปฐม บรมมหาชนกนาถ แห่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ด้วยมีหลักฐานจากจดหมายเหตุว่า บ้านสะแกกรัง อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดอุทัยธานี เป็นบ้านเกิดของสมเด็จพระปฐมมหาชนกนาถฯ ดังกล่าว ซึ่งมีพระนามเดิมว่า "ทองดี"รับราชการมีตำแหน่งเป็น พระอักษรสุนทรศาสตร์เสมียนตรากรมมหาดไทย และเป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายกเสนาบดี ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ทองด้วง) บุตรชายคนโต ได้สถาปนาเป็น "พระบรมราชจักรีวงศ์" ได้สถาปนาพระอัฐิพระบิดา เป็นที่ "สมเด็จพระชนกาธิบดี" เมื่อ พ.ศ.2338 ตรานี้เป็นรูปพลับพลาจตุรมุข หน้าบรรณศาลาตราจักรี ตั้งอยู่บนยอดเขาแก้ว(เขาสะแกกรัง) อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานีจังหวัดอุทัยธานี ใช้อักษรย่อว่า "อน"
คำขวัญจังหวัดอุทัยธานี
ที่ตั้งและอาณาเขต
เว็บไซด์จังหวัดอุทัยธานีและสถานที่ที่ติดต่อเว็บไซด์
สถานนที่ท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุทัยธานี
วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) เดิมเป็นวัดที่สร้างในสมัยอยุธยา มีโบสถ์ขนาดเล็ก ภายในมีจิตรกรรมฝาผนั'ฝีมือช่างพื้นบ้าน เข้าใจว่าเขียนในสมัยหลังการสร้างวัด เป็นเรื่องพุทธประวัติ บางภาพต่อเติมจนผิดส่วน สมบัติอีกชิ้นหนึ่งของวัดคือ ธรรมาสน์ที่หลวงพ่อใหญ่สร้าง ที่วิหารมีพระปูนปั้นฝีมือพองามและมีลายไม้จำหลักขอบหน้าบันเหลืออยู่ 2 - 3 แห่ง ด้านตรงข้ามกับวัดเป็นปูชนียสถานแห่งใหม่ มีบริเวณกว้างขวางมาก พระราชมหาวีระ ถาวาโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) พระเถระที่มีชื่อเสียงได้สร้างอาคารต่าง ๆ มากมาย เช่น พระอุโบสถใหม่ ภายในประดับและตกแต่งอย่างวิจิตร บานหน้าต่างและประตูด้านในเขียนภาพเทวดาโดยจิตรกรฝีมือดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาตัดลูกนิมิตพระอุโบสถแห่งนี้ บริเวณโดยรอบสร้างกำแพงแก้วและมีรูปหล่อหลวงพ่อปาน และหลวงพ่อใหญ่ขนาด 3 เท่า อยู่มุมกำแพงด้านหน้า มณฑป และ พระวิหารแก้ว ที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง และศพของหลวงพ่อฤาษีลิงดำที่ไม่เน่าเปื่อย อาคารเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกันคือสร้างด้วยโมเสกสีขาวใสดูเหมือนแก้ว และยังมีปราสาททองคำ ศาลาฝึกสมาธิ
วัดสังกัสรัตนคีรี
ต้นไม้ : ต้นสะเดา ดอกไม้ : ดอกสุพรรณนิการ์ ฝ้ายคำ
คำขวัญจังหวัดอุทัยธานี
อุทัยธานี เมืองพระชนกจักรี
ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว
ส้มโอบ้านน้ำตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง
แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ
ที่ตั้งและอาณาเขต
ที่ตั้ง :
จังหวัดอุทัยธานี เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากมาย และมีเรื่องราวทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ โดยเฉพาะเป็นจังหวัดที่สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระชนกาธิบดีในรัชกาลที่ 1 เกิดที่บ้านสะแกกรัง ซึ่งเป็นที่ตั้งของจังหวัดอุทัยธานีในปัจจุบัน
จังหวัดอุทัยธานีตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง มีพื้นที่ทั้งหมด 6,730 ตารางกิโลเมตรเศษ หรือประมาณ 4,206,404 ไร่
อาณาเขต :
ภาคเหนือ ติดต่อกับ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอโกรกพระ และ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ และ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอวัดสิงห์ กิ่ง อ.เนินขาม กิ่ง อ.หนองมะโรง จ.ชัยนาท และอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก อำเภอ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ และ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอวัดสิงห์ กิ่ง อ.เนินขาม กิ่ง อ.หนองมะโรง จ.ชัยนาท และอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก อำเภอ
เว็บไซด์จังหวัดอุทัยธานีและสถานที่ที่ติดต่อเว็บไซด์
กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดอุทัยธานี
ศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี 61000
ศาลากลางจังหวัดอุทัยธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี 61000
สถานนที่ท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ของจังหวัดอุทัยธานี
วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) เดิมเป็นวัดที่สร้างในสมัยอยุธยา มีโบสถ์ขนาดเล็ก ภายในมีจิตรกรรมฝาผนั'ฝีมือช่างพื้นบ้าน เข้าใจว่าเขียนในสมัยหลังการสร้างวัด เป็นเรื่องพุทธประวัติ บางภาพต่อเติมจนผิดส่วน สมบัติอีกชิ้นหนึ่งของวัดคือ ธรรมาสน์ที่หลวงพ่อใหญ่สร้าง ที่วิหารมีพระปูนปั้นฝีมือพองามและมีลายไม้จำหลักขอบหน้าบันเหลืออยู่ 2 - 3 แห่ง ด้านตรงข้ามกับวัดเป็นปูชนียสถานแห่งใหม่ มีบริเวณกว้างขวางมาก พระราชมหาวีระ ถาวาโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) พระเถระที่มีชื่อเสียงได้สร้างอาคารต่าง ๆ มากมาย เช่น พระอุโบสถใหม่ ภายในประดับและตกแต่งอย่างวิจิตร บานหน้าต่างและประตูด้านในเขียนภาพเทวดาโดยจิตรกรฝีมือดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาตัดลูกนิมิตพระอุโบสถแห่งนี้ บริเวณโดยรอบสร้างกำแพงแก้วและมีรูปหล่อหลวงพ่อปาน และหลวงพ่อใหญ่ขนาด 3 เท่า อยู่มุมกำแพงด้านหน้า มณฑป และ พระวิหารแก้ว ที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง และศพของหลวงพ่อฤาษีลิงดำที่ไม่เน่าเปื่อย อาคารเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกันคือสร้างด้วยโมเสกสีขาวใสดูเหมือนแก้ว และยังมีปราสาททองคำ ศาลาฝึกสมาธิ
วัดสังกัสรัตนคีรี
ตั้งอยู่เชิงเขาสะแกกรัง สุดถนนท่าช้าง ในเขตเทศบาลเมือง ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุทัยธานี มีประวัติว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้นำพระพุทธรูปขนาดย่อมที่ชำรุดไปไว้ตามหัวเมืองต่างๆ สำหรับเมืองอุทัยธานีได้รับ 3 องค์ โดยอัญเชิญลงแพมาขึ้นฝั่งที่ท่าพระ (ตรงข้ามศาลาประชาคมจังหวัดอุทัยธานี) แล้วนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดขวิด พระพุทธรูปองค์หนึ่งมีขนาดใหญ่เป็นพระเนื้อสำริดปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3 ศอก สร้างในสมัยพระเจ้าลิไท ฝีมือช่างสุโขทัย มีส่วนเศียรกับส่วนองค์พระเป็นคนละองค์ เข้าใจว่าคงซ่อมเป็นองค์เดียวกันก่อนนำมาไว้ที่เมืองอุทัยธานี ต่อมาเมื่อยุบวัดขวิดไปรวมกับวัดทุ่งแก้ว จึงได้ย้ายพระพุทธรูปองค์นี้ไปไว้ที่วัดสังกัสรัตนคีรี ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองไป 1 กิโลเมตร และได้ทำพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระเศียร พร้อมกับถวายนามว่า พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ของทุกปี จะมีประเพณีตักบาตรเทโว โดยพระสงฆ์ประมาณ 500 รูปจะเดินลงบันไดจากยอดเขาสะแกกรังมารับบิณฑบาตที่ลานวัดเป็นประเพณีที่สำคัญของจังหวัด
บรรณานุกรม
จังหวัดอุทัยานี ( 2553 ). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก HTTP : http// th.wikipedia.org/wiki/
(2 กรกฎาคม 2554).
ข้อมูลจังหวัดอุทัยานี ( 2553 ). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก HTTP : http// www.uthaithani.go.th/
(2 กรกฎาคม 2554).