จังหวัดสุพรรณบุรี


จังหวัดสุพรรณบุรี



สุพรรณบุรี
      
       สุพรรณบุรีเป็นเมืองโบราณ พบหลักฐานทางโบราณคดีมีอายุไม่ต่ำกว่า3,500-3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสำริด ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี และศรีวิชัย สุพรรณบุรีเดิมมีชื่อว่า ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ พันธุมบุรี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน แถบ บริเวณตำบลรั้วใหญ่ไปจดตำบลพิหารแดง ต่อมาพระเจ้ากาแตได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2,000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า สองพันบุรี ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่งใต้หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อเมืองเรียกว่า อู่ทอง จวบจนสมัยขุนหลวงพะงั่ว เมืองนี้จึงถูกเรียกว่าชื่อว่า สุพรรณบุรี นับแต่นั้นมา




ตราประจำจังหวัด   :   เป็นรูปยุทธหัตถี หมายถึง เป็นภาพยุทธหัตถีระหว่าง
                                             สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราช และบริเวณที่ทำยุทธหัตถีย์ 
                                             อยู่ในท้องที่อำเภอดอนเจดีย์



ดอกไม้ประจำจังหวัด  :  สุพรรณิการ์



ต้นไม้ประจำจังหวัด   มะเกลือ (Diospyros mollis)


คำขวัญประจำจังหวัด   เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรือง 
                                                   เกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง

ที่ตั้งและอาณาเขต
        
       อำเภอเมืองสุพรรณบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอดอนเจดีย์และอำเภอศรีประจันต์
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอวิเศษชัยชาญ (จังหวัดอ่างทอง) และอำเภอผักไห่ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางปลาม้า
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภออู่ทอง

เว็บไซต์
    
:   www.suphanburi.go.th

ที่ตั้งศูนย์ราชการ
            ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ถนนสุพรรณบุรี-ชัยนาท ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี   72000     โทรศัพท์  (+66) 0 3540 8700, 0 3553 5376



ชนกลุ่มน้อย      :   ไม่มี




สถานที่ท่องเที่ยว 


       วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่ ถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรีอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรีชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดป่า ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโตปางป่าเลไลยก์เดิมหลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ต่อมาได้มีการบูรณะและทำเป็นปางป่าเลไลยก์ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันวัดป่าเลไลยก์วรวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ระดับวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่หน้าบันของวิหาร         วัดป่าเลไลยก์มีเครื่องหมายพระมหามกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จธุดงค์มาพบสมัยยังทรงผนวชอยู่ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจึงทรงมาปฏิสังขรณ์   วัดป่าเลไลยก์วรวิหารสร้างในสมัยที่เมืองสุพรรณบุรีรุ่งเรือง ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแตทรงให้มอญน้อยมาบูรณะวัดป่าเลไลยก์ภายหลัง พ.ศ. 


1724   ประชาชนมานมัสการ หลวงพ่อโต” ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารสูงเด่นเห็นแต่ไกล เป็นพระพุทธรูปปางป่า   เลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ องค์พระสูง23.46 เมตร รอบองค์ 11.20 เมตร ภายในองค์พระพุทธรูปนี้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลาย จำนวน 36 องค์


       บรรณานุกรม


        จังหวัดสุพรรณบุรี.  (2554).  ค้นหาเมื่อ  กรกฎาคม  13,2554,  จาก  http  ://
                    www.suphanburi.go.th