จังหวัดปทุมธานี

สัญลักษณ์ประจำจังหวัดปทุมธานี

รูปวงกลมมีสัญลักษณ์ดอกบัวหลวงสีชมพูอยู่ตรงกลาง
และรวงข้าวสีทองอยู่ 2 ข้าง
ดอกบัวและต้นข้าว หมายถึง ความสมบูรณ์ด้วย พืชพันธุ์ธัญญาหาร


คำขวัญ
ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ
พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม

ดอกไม้ประจำจังหวัด                                             ต้นไม้ประจำจังหวัด
    ดอกบัวหลวง                                                         ปาริชาติ





ที่ตั้งและอาณาเขต
                  ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางไทร อำเภอบางปะอินและอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอหนองแค และอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี
                  ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก และ อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
                  ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางเลน
                  จังหวัดนครปฐม และอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
                  ทิศใต้ ติดต่อกับเขตหนองจอก เขตคลองสามวา เขตสายไหม  เขตบางเขน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และอำเภอปากเกร็ด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
 เว็บไซต์และสถานที่ติดต่อ
                   ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร จังหวัดปทุมธานี
                  สำนักงานจังหวัดปทุมธานี ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี ถนนปทุมธานี-สามโคก ปท 12000
                  โทรศัพท์/โทรสาร : 02-581-6038 
 ชนกลุ่มน้อย

มอญสามโคก จ.ปทุมธานี
                  สามโคกมีชื่อปรากฏอยู่ ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาอยู่หลายฉบับ ที่กล่าวถึงการอพยพชาวมอญเข้ามาอยู่ที่สามโคก ในปี พ.ศ. ๒๒๐๓  สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  ชาวมอญเมืองเมาะตะมะ ได้อพยพครัวเรือนหนีภัยสงครามเข้ามาประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ ที่บ้านสามโคก นับเป็นครั้งแรกที่ชาวมอญได้เข้ามาตัั้งบ้านเรือน

สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
จังหวัดปทุมธานี
วัดไผ่ล้อม





วัดไผ่ล้อมเดิม สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 สันนิษฐานกันว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 4 มี ความเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา ได้เกณฑ์ชาวมอญที่ได้อยู่ใต้โพธิสมภาร มาช่วยกันบูรณองค์พระปฐมเจดีย์ และชาวมอญเหล่านี้ได้มาพักอาศัยอยู่ ณ บริเวณสวนป่าไผ่ใกล้องค์พระปฐมเจดีย์ ห่างกันประมาณ 500เมตร  ขณะเดียวกันยังมีชาวไทยเชื้อสายมอญหลงเหลืออยู่อาศัยในถิ่นนี้และมีศรัทธาแรงกล้าในการบวชพุทธศาสนา จึง สันนิษฐานกันว่าแต่เดิมบริเวณนี้เป็นดงไผ่หนาทึบ กระทั่งพระภิกษุที่อยู่พรรษาที่ก่อสร้าง และมีผู้คน เข้ามา อยู่อาศัยมากขึ้นต้นไผ่ที่เคยหนาทึบ ได้ถูกชาวบ้าน ถางจนหมดเพื่อไปทำที่อยู่อาศัย แทบจะหาต้น ไผ่หลงเหลืออยู่น้อยมาก จะมีอยู่บ้างก็บริเวณรอบๆ วัดเท่านั้น และได้กลายมาเป็นชื่อวัดไผ่ล้อมจนมาถึงปัจจุบันนี้กาลสมัยต่อมา



บรรณานุกรม
จังหวัดปทุมธานี. ค้นคืนเมื่อ กรกฎาคม  4, 2554,  จาก http://th.wikipedia.
org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B%
ชุมชนมอญในประเทศไทย - มอญสามโคก จ.ปทุมธานี.  
ค้นคืนเมื่อ  กรกฎาคม 4, 2554,  จาก http://www.openbase.in.th/node/
ปทุมธานี.  ค้นคืนเมื่อ  กรกฎาคม  4, 2554,  จาก http://www.thaigoodview.
com/node/17254 
สัญลักษณ์จังหวัดปทุมธานี.   ค้นคืนเมื่อ  กรกฎาคม  4, 2554,  จาก http://
www.pathumthani.go.th/New_web/index.php4