จังหวัดสิงห์บุรี
ความหมายของสัญลักษณ์ตราประจำจังหวัดสิงห์บุรี
เป็นรูปโครงร่าง ๑๑ วีรชนสีดำ อยู่บนพื้นสีแดงภายในโล่ ชนิดกลม ขอบโล่ถัดจากพื้นสีแดง มีวงกลมสีขาว สีน้ำเงิน และสีแดง มีขนาดและสัดส่วน เช่นเดียวกับพื้นแถบธงชาติไทยออกไปตามลำดับ ใต้รูปโครงร่างวีรชน มีข้อความ จังหวัดสิงห์บุรี เป็นอักษรสีดำโค้งไปตามส่วนล่างของขอบโล่
ต้นไม้ประจำจังหวัดสิงห์บุรี
มะกล่ำต้น (Adenanthera pavonina)
คำขวัญประจำจังหวัดสิงห์บุรี
ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน นามกระฉ่อนช่อนปลาแม่ลา เทศกาลกินปลาประจำปี
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดสิงห์บุรีตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทย อาณาเขต ติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอสรรพยา (จังหวัดชัยนาท) และอำเภอตาคลี (จังหวัดนครสวรรค์)
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอไชโย อำเภอโพธิ์ทอง และอำเภอแสวงหา (จังหวัดอ่างทอง)
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอบ้านหมี่และอำเภอท่าวุ้ง (จังหวัดลพบุรี)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอสรรณบุรี (จังหวัดชัยนาท) และอำเภอเดิมบางนางบวช (จังหวัดสุพรรณบุรี)
เว็บไซต์ของจังหวัดสิงห์บุรี
สถานที่ติดต่อของเว็บไซต์
กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี ศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โทร 0-3650-7117 โทรสาร 0-3650-7117 e-mail : singburi@moi.go.th
สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
จังหวัดสิงห์บุรีเป็นจังหวัดที่โดดเด่นในด้านประวัติศาสตร์และศาสนา แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญส่วนใหญ่จึงเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิตและวัดต่างๆ ดังนี้
ภายในค่ายจะเป็นอาคารศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์วีรชนค่าย บางระจัน จัดห้องนิทรรศการโดยแบ่งออกเป็นห้องต่าง ๆ ห้องแรก แสดงเรื่องค่ายบางระจัน เครื่องใช้โบราณ แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย หนังใหญ่ ห้องที่สอง จัดแสดงมรดกเมืองสิงห์บุรี ห้องที่สาม แสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมืองสิงห์บุรีและของดีเมืองสิงห์บุรี
สร้างสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่ มีพระกาฬเป็นพระพุทธรูปศิลาลงรักปิดทอง และพระแก้ว พระหล่อนั่งขัดสมาธิเพชรอันศักดิ์สิทธิ์และมีพระพุทธลักษณะงดงาม
เป็นศูนย์รวมของศิลปะหลายด้าน โดยเฉพาะการปั้นพระพุทธรูปเหมือน ภายในวัดยังมี พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ เป็นแหล่งเก็บรวบรวมตัวหนังใหญ่ที่สมบูรณ์ ได้มีการรวบรวมตัวหนังใหญ่จากฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเอาไว้
มีโบสถ์รูปทรงสมัยใหม่ที่งดงามไม่เหมือนโบสถ์แห่งไหน สร้างอยู่บนฐานศาลาการเปรียญหลังเก่า และวัดนี้ยังมีเจดีย์โบราณทรงระฆังคว่ำคล้ายเจดีย์สมัยอยุธยาตอนต้น มีซุ้มทรงระฆังตั้งแต่ปล้องไฉนขึ้นไป
เดิมชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า วัดหัวเมือง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดหน้าพระธาตุ สิ่งที่สำคัญของวัดนี้ คือ องค์พระปรางค์สูงประมาณ 8 วา ทำเป็นรูปครุฑ อสูรถือกระบองประดับอยู่เหนือชั้นเชิงบาตร
สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก่อด้วยอิฐแบบปรางค์ไทยสูงชะลูดคล้ายฝักข้าวโพด กลวง มีคูหาสี่เหลี่ยมด้านหลังมีวิหารเก่าแก่แบบอยุธยา หน้าบันเป็นลายแกะสลักไม้รูปตัวสิงห์และคันทวยต่าง ๆ
เป็นสถานที่ที่วีรชนชาวบ้านบางระจันได้เคยใช้เป็นที่ในการต่อต้านพม่าที่ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า “วัดไม้แดง” ชาวบ้านถือกันว่าเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ในบริเวณวัดมี “วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ” เป็นวิหารทรงจตุรมุข พระอาจารย์ท่านเป็นผู้นำสำคัญผู้หนึ่งของชาวบ้านบางระจัน
เป็นแหล่งชุมชนโบราณมีลักษณะเป็นเนินดินแนวยาว สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่พม่ายกกองทัพมาตั้งที่ปากน้ำบางพุทราเพื่อรวบรวมกำลังเข้าตีกรุงศรีอยุธยา
บรรณานุกรม
สิงห์บุรี. (2554). ค้นคืนเมื่อ กรกฎาคม 30, 2554, จาก http://www.singburi.go.th/index1.html
คำขวัญประจำจังหวัด. (2554). ค้นคืนเมื่อ กรกฎาคม 30, 2554, จาก http://th.wikipedia.org/wiki
สถานที่ท่องเที่ยว. (2554). ค้นคืนเมื่อ กรกฎาคม 30, 2554, จาก http://www.holidaythai.com