จังหวัดนครนายก


จังหวัดนครนายก

       จังหวัดนครนายก เป็นจังหวัดในภาคกลาง ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 14 องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 101 องศาตะวันออก มีระยะทางจากจากกรุงเทพมหานครตามถนนรังสิต-นครนายก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 305) ผ่านอำเภอองครักษ์ถึงจังหวัดนครนายก ระยะทาง 105 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 2,122 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 1,326,250 ไร่


ตราประจำจังหวัด  :  รูปช้างชูรวงข้าวหมายถึง ที่นี่เคยมีช้างอยู่มาก และประชากรมีอาชีพทำนา ปลูกข้าวได้มาก มีข้าวกล้าอุดมสมบูรณ์จังหวัดนครนายก ใช้อักษรย่อว่า "นย"

ดอกไม้และต้นไม้  :  ชื่อพรรณไม้ สุพรรณิการ์   ชื่อวิทยาศาสตร์ Cochlospermum religiosum

คำขวัญ  :  "นครนายก เมืองในฝันที่ใกล้กรุง ภูเขางาม น้ำตกสวย รวยธรรมชาติ ปราศจากมลพิษ"

ที่ตั้งและอาณาเขต
       
       จังหวัดนครนายกตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศไทยห่างจากกรุงเทพฯ107กม. มีเนื้อที่ประมาณ2,122ตร.กม.หรือประมาณ1,326,250ไร่มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดสระบุรี และจังหวัดนครราชสีมา
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดปราจีนบุรี
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดปราจีนบุรี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดปทุมธานี

เว็บไซต์    :   www.nakhonnayok.go.th/




ที่ตั้งศูนย์ราชการ
      
       ศาลากลางจังหวัดนครนายก ถนนสุวรรณศร ตำบลท่าช้าง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก 26000    โทรศัพท์   (+66) 0 3731 4575)




ชนกลุ่มน้อย   ไม่มี





สถานที่ท่องเที่ยว 



ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน
ตั้งอยู่บนชะง่อนหินเขาชะโงกตำบลพรหมณี อำเภอเมืองนครนายก เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มีประชาชนเคารพนับถือมาก ตามประวัติท่านเป็นนายด่านเมืองนครนายกสมัยกรุงศรีอยุธยา วีรกรรมของท่านคือ การต่อต้านเขมรที่แปรพักตร์ เมื่อปี พ.ศ.2130 ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชขณะที่ไทยติดพันศึกกับพม่าเขมรได้เข้ามารุกรานและกวาดต้อนผู้คนแถบปราจีนบุรีเพื่อนำกลับเขมร โดยได้ยึดเมืองปราจีนบุรี และเมืองนครนายก ขุนด่านได้รวบรวมคนที่ เมือง นครนายกไปตั้งหลัก ที่เขาชะโงกแล้วยกกำลังเข้าขับไล่เขมร ออกจากนครนายก จนเขมรแตกพ่ายไปความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้า พ่อขุนด่านยังมีเรื่องเล่าอีกว่าในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นนำกำลังพลไปตั้งหลักที่เขาชะโงกและได้รื้อศาลเจ้าพ่อขุนด่านเจ้าพ่อขุนด่านได้ทรงแสดงอภินิหารทำให้ทหารญี่ปุ่นล้มตายเป็นจำนวนมาก

บรรณานุกรม

จังหวัดนครนายก.  (2554).  ค้นหาเมื่อ  กรกฎาคม  13,2554,  จาก  http  ://    

              www.nakhonnayok.go.th/