จังหวัดอ่างทอง



จังหวัดอ่างทอง
ตราประจำจังหวัด



            ความหมาและสัญลักษณ์ของตราประจำจังหวัด 
            สัญลักษณ์  
             เป็นรูปอ่างสีน้ำตาล ในอ่างมีใบข้าวสีเขียวสลับไขว้ไปมา มีรวงข้าวสุกสีเหลือง 4 รวงอยู่ภายในวงกลมพื้นสีเขียวอ่อน ขอบนอกวงกลมสีน้ำตาล ขอบในสีขาว ด้านล่างของอ่าง ภายในวงกลมมีลายไทย สีเหลืองประกอบ และมีตัวหนังสือคำว่า จังหวัดอ่างทอง อยู่ภายใน 
          
วามหมาย
             จังหวัดอ่างทองเป็นจังหวัดที่ราบลุ่ม มีลักษณะเป็นแอ่งรับน้ำภูมิประเทศเหมาะแก่การเพาะปลูก ดวงตราของจังหวัดจึงเป็นรูปอ่างสีทอง ซึ่งหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของจังหวัด ในอ่างมีรวงข้าว และใบข้าวซึ่งหมายถึงการทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนในภูมิภาคนี้

               



            ต้มไม้ประจำจังหวัดอ่างทอง

            มะพลับ เป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งของคนไทย กำหนดปลูกไว้ทางทิศใต้ เชื่อกันว่า การปลูกต้นมะพลับในบริเวณบ้านจะทำ ให้ร่ำรวยยิ่ง
           คำขวัญจังหวัดอ่างทอง  
           พระสมเด็จเกษไชโย หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ วีรไทยใจกล้า ตุ๊กตาชาววัง  โด่งดังจักสาน ถิ่นฐานทำกลอง เมืองสองพระนอน     
           ที่ตั้งและอาณาเขต   
           จังหวัดอ่างทองเป็นพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง  และมีอาณาเขตดังนี้
           ทิศเหนือ    ติดต่อกับ    อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอพรหมบุรีและอำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี

ทิศใต้    ติดต่อกับ  อำเภอผักไห่และอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
           ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ  อำเภอบางปะหัน อำเภอมหาราช และอำเภอบ้านแพรก  
                                   จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
           ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ   อำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอศรีประจันต์ อำเภอสามชุก
                                   และอำเภอเดิมบางนางบวชจังหวัดสุพรรณบุรี
           เว็บไซต์ของจังหวัดอ่างทอง
           http://www.angthong.go.th/
           สถานที่ติดต่อเว็ปไซต์
            เว็บไซต์ www.angthong.go.th ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง
           โทร 0-3561-4912    ติดต่อผู้ดูแลระบบ: angthong@moi.go.th

           สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
           1. อนุสาวรีย์นายดอก นายทองแก้ว


                        เป็นอนุสรณ์เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของวีรบุรุษแห่งบ้านโพธิ์ทะเล   ทั้งสองท่านยอมสละชีวิตอย่างกล้าหาญ  
            เพื่อปกป้องแผ่นดินไทยในการสู้รบกับพม่า ที่ค่ายบางระจันก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะแตก
           2.  พระตำหนักคำหยาด

                       พระตำหนักนี้สร้างขึ้นตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เพื่อเป็นที่ประทับแรม เช่นเดียวกับที่พระเจ้าปราสาททองทรงสร้างที่ประทับไว้ที่บางปะ และประทับอยู่ที่พระตำหนักคำหยาดนี้ เพื่อไปสมทบกับชาวบ้านบางระจัน
          3.  ศาลหลักเมือง

                        ศาลหลักเมืองเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นที่สถิตย์ของเทพารักษ์พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง จะปกปักรักษาและปัดเป่าภัยพิบัติต่าง ๆ เพื่อให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองและประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข
           4. วัดต้นสน

                       เป็นวัดเก่าแก่โบราณ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสะดุ้งมาร พระนามว่า สมเด็จพระพุทธนวโลกุตตรธัมมบดีศรีเมืองทอง  และพุทธลักษณะที่สวยงามมากอีกองค์หนึ่ง นอกจากนี้ยังมีวังปลาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งอีกด้วย
            
5. วัดอ้อย


                      เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองวิเศษชัยชาญ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา  พระอุโบสถเป็นอาคารขนาดใหญ่หกห้อง มีลักษณะสวยงามคล้ายกับพระอุโบสถวัดราชบูรณะ พระอุโบสถนี้ไม่มีหน้าต่าง ลักษณะแบบนี้   เรียกว่า    มหอุด โบสถ์มีเสมา 8 ทิศ พระประธานเป็นพระหล่อสัมฤทธิ์ ชาวบ้าน  เรียกว่า  หลวงพ่อดำ
           
6.  วัดท่าสุทธาวาส

                     วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณ ในสมัยอยุธยาตอนต้น  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับวัดไว้ในพระราชอุปถัมภ์      มีการจัดสร้างพลับพลาที่ประทับกลางสระน้ำ และสร้างพระเจดีย์เพื่อแสดงพระพุทธรูปโบราณ และโบราณวัตถุต่างๆ ข้างพลับพลาประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

 7. วัดสระเกษ

                     วัดนี้เป็นวัดเก่าตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลชัยภูมิ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทิศตะวันออก ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทอง ประมาณ 15 กิโลเมตร ตำบลชัยภูมินี้เดิมชื่อ บ้านสระเกษ ขึ้นอยู่กับแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ

           บรรณานุกรม
           อ่างทอง.  (2554).  ค้นคืนเมื่อ  กรกฎาคม   30, 2554, จาก
                           http://www.angthong.go.th
            สถานที่ท่องเที่ยว.  (2554). ค้นคืนเมื่อ  กรกฎาคม   30, 2554, จาก  
                            http://www.siamfreestyle.com
            ต้นไม้ประจำจังหวัด.   (2554). ค้นคืนเมื่อ  กรกฎาคม   30, 2554, จาก
                           http//www.panmai.com              







 

คำ