วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

จังหวัดนครปฐม

ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด


 รูปเจดีย์องค์ใหญ่และมีมงกุฎติดอยู่ที่พระปฐมเจดีย์
เจดีย์องค์ใหญ่ หมายถึง องค์พระปฐมเจดีย์ที่พระโสณะและพระอุตระได้สร้างขึ้น
มงกุฎ หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงอุปถัมภ์
สร้างองค์พระปฐมเจดีย์ต่อเติม ให้สูงใหญ่สง่างามตามที่
ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
 ..................................................................................................................................................................

ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกจันทร์หอม
ต้นไม้ประจำจังหวัด: จันทร์

คำขวัญ
ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม
ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น
พุทธมณฑลคู่ธานี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า
สวยงามตาแม่น้ำท่าจีน
 ....................................................................................................................
   ที่ตั้งและอาณาเขต
                   ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอกำแพงแสนและอำเภอดอนตู
                  ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอนครชัยศรี
                  ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสามพราน และอำเภอบางแพ (จังหวัดราชบุรี)
                  ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโพธารามและอำเภอบ้านโป่ง
                  (จังหวัดราชบุรี)
 ..................................................................................................................................................................
เว็บไซต์และสถานที่ติดต่อ
                  กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัด
                   034-340155-6 ต่อ 60022
.....................................................................................................

ชนกลุ่มน้อย

                 ชาวไทยทรงดำหรือเรียกว่าไทย โซ่ง ที่อพยพมาจากบ้านหนองปรงอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี มีวัฒนธรรมประเพณีที่น่าสนใจมากมาย มีการแต่งกายที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง มีภาษาพูดที่คล้ายภาษาอีสานหรือภาษาลาว ส่วนอักษรนั้นเขียนคล้ายตัวภาษาไทยอีสานหรือตัวไทยน้อย ประกอบอาชีพทำ นาเป็นหลักและนิยมทำเครื่องมือในการทำนาขึ้นมาใช้เอง มีการทอผ้าและเครื่องจักรสานต่างๆ
สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
จังหวัดนครปฐม


พระปฐมเจดีย์ 





เป็นพระมหาเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย  การที่ได้ชื่อว่าพระปฐมเจดีย์นั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงสัณนิษฐานว่า น่าจะเป็นพระเจดีย์เก่ากว่าพระเจดีย์อื่น ๆ ในประเทศสยาม  สันนิษฐานว่าสร้างสมัยทวาราวดี ตั้งอยู่ที่เมืองนครไชยศรีในสมัยก่อน  ปัจจุบันอยู่ในอำเภอเมืองนครปฐม
บรรณานุกรม
พระปฐมเจดีย์.  ค้นคืนเมื่อ กรกฎาคม 5, 2554, จาก http://www.thai-tour.
com/thai-tour/Central/NakornPrathom/data/place/pic_pra-prathom
chedi.htm
ตราประจำจังหวัดนครปฐม.  ค้นคืนเมื่อ กรกฎาคม 5, 2554, จาก http://
123.242.156.6/nakon/index.php/about-nakonpathom
ตราสัญลักษณ์จังหวัด.  ค้นคืนเมื่อ กรกฎาคม 4, 2554, จาก http://welovethailand.
 webatu.Com/S11.html




จังหวัดนนทบุรี

จังหวัดนนทบุรี
        ตราประจำจังหวัด
       "หม้อน้ำลายวิจิตร" หมายถึง ชาวจังหวัดนนทบุรีมีอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งยึดถือเป็นอาชีพและมีชื่อเสียงมาช้านาน

ต้นไม้ประจำจังหวัด ต้นนนทรีบ้าน
ดอกไม้ประจำจังหวัด ดอกนนทรี

 คำขวัญประจำหวัด
พระตำหนักสง่างาม ลือนามสวนสมเด็จ
เกาะเกร็ดแหล่งดินเผา วัดเก่านามระบือ
   เลื่องลือทุเรียนนนท์  งามน่ายลศูนย์ราชการ

ที่ตั้งและอาณาเขต

                   ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอลาดหลุมแก้ว และอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
                  ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตดอนเมือง เขตหลักสี่ เขตจตุจักร และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร (ฝั่งพระนคร)
                  ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางพลัด เขตตลิ่งชัน และเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรี)
                  ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพุทธมณฑลและอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
เว็บไซต์ติดต่อและสถานที่
                  สำนักงานจังหวัดนนทบุรี กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร
ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง
       จังหวัดนนทบุรี 11000          
Tel. 0 2580 0705-6
Email:nonthaburi@moi.go.th

ชุนกลุ่มน้อย 
มอญปากเกร็ด
     ในการอพยพของมอญอย่างน้อย ๒ ครั้ง ที่พระเจ้าแผ่นดินโปรดฯ พระราชทานที่ทำกินให้แก่ชาวมอญที่ปากฟนนทบุรี
วัดฟ้าแก้ว 
             อำเภอบางกรวย จ.นนทบุรี ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย ตำบลบางขนุน วัดนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2095 สมัยรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ชื่อวัดแก้วฟ้าน่าจะเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนต้น คือ สมเด็จพระไชยราชาธิราช เสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน พระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ พระแก้วฟ้าพระชนม์ได้ 13 พรรษา ได้รับการสถาปนาให้ขึ้นครองราชย์แทนได้ 1 ปี 2 เดือน ถูกขุนวรวงศาธิราชประหารชีวิตแล้วขึ้นครองราชย์แทน ต่อมาขุนวรวงศาธิราชถูกขุนพิเรนทรเทพ จับฆ่าเอาศพเสียบประจาน แล้วสถาปนาพระเฑียรราชา ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระไชยราชาขึ้นครองราชย์แทน เป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ


 วัดกู้



อำเภอปากเกร็ด จ.นนทบุรี
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบางพูด ในซอยปากเกร็ด 3 บริเวณริมน้ำหน้าวัดเป็นจุดที่เรือพระที่นั่ง ของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระมเหสีในรัชกาลที่ 5 ประสบอุบัติเหตุเรือล่มสิ้นพระชนม์ วัดนี้สร้างในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นศิลปะแบบมอญ ภายในโบสถ์หลังเก่ามีภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบมอญ เป็นภาพเขียนสีน้ำมันเรื่องราวพุทธประวัติ วิหารประดิษฐานพระนอนองค์ใหญ่ ด้านข้างวิหารเป็นที่เก็บเรือพระที่นั่งของพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ที่อับปาง ซึ่งชาวบ้านได้กู้ขึ้นมา และมีพระตำหนักที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน ที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์สิ้นพระชนม์และเมื่อคราวเรือล่มได้อัญเชิญพระศพมาไว้ที่วัดนี้ชั่วคราว หรือศาลพระนางเรือล่ม 


บรรณานุกรม
ต้นนนทรีบ้านต้นไม้ประจำจังหวัดนนทบุรี. ค้นคืนเมื่อ กรกฎาคม 4, 2554, จาก
 http://www.panmai.com/PvTree/tr_24.shtml
ดอกนนทรีดอกไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา, นนทบุรี, พิษณุโลก. ค้นคืน
เมื่อ กรกฎาคม 4, 2554, จาก http://www.panmai.com/PvFlower/
fl_18.shtml
จังหวัดนนทบุรี.  ค้นคืนเมื่อ กรกฎาคม 4, 2554, จาก http://th.wikipedia.org/wiki%
E0%B8%88%E0B8%9A%E0% B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5
สถานที่ท่องเที่ยว-ใน-จ.นนทบุรี/วัดบรมราชาเล่งเนยยี่ .  ค้นคืนเมื่อ กรกฎาคม
4, 2554, จากhttp://www.Baankhunta.com/สถานที่ท่องเที่ยว- ใน-
จ.นนทบุรี/วัดบรมราชาเล่งเนยยี่2.html

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ภาคกลางของประเทศไทย

ภาคกลาง






ภาคกลางประกอบไปด้วยเขตการปกครอง22 จังหวัด (ในกรณีนี้นับว่า

เป็นจังหวัดโดยอนุโลม) 

ได้แก่รวมกรุงเทพมหานคร





3.      ชัยนาท
5.      นครปฐม

         ลักษณะภูมิประเทศ


               ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม กว้างใหญ่ เกิดจากตะกอนดิน ทราย กรวดที่ถูกแม่นำพัดพามาทับถมกัน จนกลายเป็นที่ราบที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง บริเวณที่ราบลุ่มตอนบน เป็นที่ราบลอนคลื่น บางแห่งเป็นที่ราบขั้นบันได และที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงของแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน บริเวณขอบเป็นที่ราบแคบๆหรือเนินเขา และบริเวณกล่มเขาโดดนครสวรรค์เป็นที่ราบลอนคลื่นและมีเนินเขาเตี้ยๆโผ่เป็นระยะจากนครสวรรค์ถึงชัยนาท